หน่วยที่ ๑๐ การเขียนขั้นพื้นฐาน

หน่วยที่ ๑๐ การเขียนขั้นพื้นฐาน


                ๑๐.๑ การเขียนสรุปความ
                ๑๐.๑.๑ ความหมายของการเขียนสรุปความ
                การเขียนสรุปความ หมายถึง การที่ผู้เขียนนำเสนอเฉพาะสาระสำคัญของเรื่องที่ได้รับข้อมูลมาทั้งโดยการฟัง ดูและอ่าน เพื่อเผยแพร่ข้อมูลนั้น ๆ แก่ผู้รับสารโดยมีจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง

                ๑๐.๑.๒ ความสำคัญของการเขียนสรุปความ
                ในกรณีที่ต้องอ่านข้อความจนวนมากหรือเรื่องราวที่ยาวมาก การเขียนสรุปความช่วยทำให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องได้ง่าย เพราะมีผู้สรุปเรื่องที่ยาว ๆ นั้นไว้ให้อย่างมีหลักการ เป็นการประหยัดเวลาในการอ่านและทให้รู้เรื่องได้เร็ว เข้าใจง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในการสรุปบทเรียน สรุปรายงานทั่ว ๆ ไปหรือรายงานวิจัย แม้กระทั่งรายงานการปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ การเขียนสรุปความสามารถเข้าไปสีส่วนในการช่วยลดทอนเวลาที่จะต้องมาอ่านทำความเข้าใจในเรื่องราวเหล่านั้นทำให้ไม่เสียเวลามากเกินไป

                ๑๐.๑.๓ ประเภทของการเขียนสรุปความ
                ๑) เขียนสรุปความจากร้อยแก้ว
                งานเขียนร้อยแก้ว เช่น บทความ เรียงความ เรื่องสั้น สารคดี นิทาน นิยาย นวนิยาย ข่าวต่าง ๆ เป็นต้น
                ๒) เขียนสรุปความจากร้อยกรอง
                งานเขียนร้อยกรอง เช่น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย เป็นต้น

                ๑๐.๑.๔ หลักการเขียนสรุปความ
                ๑) พยายามตัดข้อความที่ไม่สำคัญออกไป
                ๒) เก็บเฉพาะใจความสำคัญของเรื่อง
                ๓) รวบรวมเนื้อหาให้เพียงพอต่อการนไปสรุปเรื่อง
                ๔) เขียนให้สั้น ๆ กะทัดรัดแต่ได้ใจความ
                ๕) ใช้ภาษาที่เป็นแบบแผน หรือภาษามาตรฐานในการเขียนสรุป
                ๖) เมื่อเขียนเสร็จแล้วอ่านทบทวนอีกครั้ง

                ๑๐.๑.๕ วิธีการเขียนสรุปความ ผู้เขียนต้องมีความเข้าใจวิธีการเขียนสรุปความ ดังนี้
                ๑) ฟังหรืออ่านให้เข้าใจอย่างมีสมาธิ
                ๒) จับประเด็นหรือใจความสำคัญให้ได้
                ๓) พิจารณาข้อเท็จจริงออกจากข้อคิดเห็น
                ๔) จดบันทึกสิ่งที่ได้จากการฟัง ดูหรืออ่านนั้น ๆ
                ๕) นำมาเรียบเรียงใหม่ให้สั้น กระชับได้ใจความ
                ๖) อ่านตรวจทานเพื่อให้ครบถ้วนสมบูรณ์อีกครั้ง

                ๑๐.๒ การเขียนอธิบาย
                ๑๐.๒.๑ ความหมายของการเขียนอธิบาย
                การเขียนอธิบาย หมายถึง การเขียนบอกเล่ากระบวนการ กลไก หน้าที่ วิธีทำ เช่น การเขียนอธิบายรายงานการทงานของเครื่องจักร อธิบายวิธีประดิษฐ์สิ่งของ กระบวนการผลิตสินค้า หรืออธิบายความหมายของคำ เป็นต้น
                การใช้ภาษาเขียนอธิบายต้องเป็นประโยคสั้น ๆ กะทัดรัด อาจมีตัวอย่างประกอบเพื่อเข้าใจได้ง่ายขึ้น

                ๑๐.๒.๒ ประเภทของการเขียนอธิบาย
                การเขียนอธิบายแยกเป็นประเภทดังนี้
                ๑) คำจำกัดความ
                ๒) เชิงอรรถ
                ๓) คำนำหรือคำปรารถนา
                ๔) คำแถลงหรือคำแถลงการณ์ต่อศาล
                ๕) คำเตือนหรือคำแนะนำของทางราชการ
                ๖) คำอธิบายวิธีปฏิบัติในเรื่องต่าง ๆ
                ๗) บทนำในหน้าหนังสือพิมพ์
                ๘) การเขียนอธิบายทางวิชาการ

.               ๑๐.๒.๓ หลักการเขียนอธิบาย
                การเขียนอธิบายผู้เขียนต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
                ๑) ใช้ภาษาอย่างมีประสิทธิภาพ ชัดเจน สื่อความหมายได้ตรงตามความต้องการ
                ๒) มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่เขียนอธิบายเป็นอย่างดี
                ๓) สังเกตวิธีอธิบายของผู้อื่น ทั้งจากการฟังและการอ่าน โดยใช้ความคิดเชิงวิเคราะห์และประเมินค่าการอธิบายนั้น เพื่อใช้เป็นแนวทางในการเรียนรู้ และปรับปรุงแก้ไข
                ๔) หาโอกาสฝึกการเขียนอธิบายให้ถูกวิธี และให้ผู้อื่นช่วยวิจารณ์การเขียนของตน

                ๑๐.๒.๔ วิธีการเขียนอธิบาย
                การเขียนอธิบายมีวิธีการเขียน ดังนี้
                ๑๐.๒.๔.๑ การวางโครงเรื่อง การวางโครงเรื่องนับว่าสำคัญมาก เพราะเป็นสิ่งป้องกันความสับสน และจะเป็นจุดหมายในการขยายความหรืออธิบายเรื่อง เป็นสิ่งที่ทำให้ข้อความต่อเนื่องกัน เช่น ถ้าเขียนอธิบายเรื่องพรรคการเมืองในประเทศไทย ก็อาจจัดลำดับหัวข้อเรื่องได้ ดังนี้

                ๑) ความนำ                                               
                ๒) ความหมายของพรรคการเมือง
                ๓) ประวัติพรรคการเมืองในประเทศไทย
                ๔) หลักการของพรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตย
                ๕) ส่วนดีส่วนเสียของการปกครองที่มีพรรคการเมือง
                ๖) สรุปความคิดเห็นของผู้เขียนที่มีต่อพรรคการเมือง
                ถ้าจะเขียนอธิบายเกี่ยวกับสถานที่หรือวัตถุอาจตั้งหัวเรื่องดังนี้

                ๑) บทนำ
                ๒) คำจำกัดความ
                ๓) ประวัติความเป็นมาของสถานที่หรือวัตถุนั้น
                ๔) ความสำคัญทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี
                ๕)ตำบลที่อยู่หรือสถานที่ตั้งของสิ่งนั้น
                ๖) การคมนาคมไปสู่สถานที่นั้นและสภาพแวดล้อม เช่น ชาวพื้นเมือง ที่พักและอาหาร เป็นต้น
                ๗) ประโยชน์ที่ได้รับจากการท่องเที่ยวสถานที่นั้น ๆ
                ๘) วิจารณ์และสรุป

                ๑๐.๒.๔.๒ การเริ่มเรื่อง การเริ่มเรื่องในการเขียนอธิบายนั้นทำได้หลายวิธี เช่น
                ๑) ให้คำจำกัดความ เป็นการให้ความหมายของเรื่องที่จะเขียน อาจจะยกความหมายตรงของชื่อเรื่องนั้นขึ้นมากล่าว เช่น ถ้าเป็นเรื่อง ความรัก” ก็อาจขึ้นต้นว่า
                ความรัก คือ ความชอบอย่างผูกพัน พร้อมด้วยความชื่นชมยินดี
                ถ้าเกี่ยวกับความสะอาด ก็อาจจะให้คำจำกัดความของคำว่า สะอาด ดังนี้
                สะอาด ตามพจนานุกรม มีความหมายว่า หมดจด ผ่องใส ไม่สกปรก ไม่มีตำหนิ บริสุทธิ์เป็นต้น
                ๒) นำวาทะคนสำคัญ หรือคำคม ขึ้นมากล่าวนำ เช่น เรื่องความรัก ก็อาจเริ่มต้นว่า
                นโปเลียน กล่าวว่า ความรักเป็นงานของคนเกียจคร้าน เป็นเครื่องหย่อนใจของคนขยัน เป็นความหายนะของผู้เป็นใหญ่
                ความรักเหมือนโรคา                             บันดาลตาให้มืดมน
                ไม่ยินและไม่ยล                                        อุปสัคคใดใด
                ความรักเหมือนโคถึก                              กำลังคึกผิขังไว้
                ก็โลดจากคอกไป                                       บ่ยอมอยู่ ณ ที่ขัง


                ๓) ใช้หลักความรู้หรือหลักวิชามาอธิบายหัวเรื่อง เช่น เรื่องชาวต่างภาษาของอัศวพาหุ เริ่มเรื่องว่า
                อันคำว่า ต่างภาษา นั้นคืออะไร
                เมื่อแลดูเผิน ๆ ก็ดูไม่น่าจะเป็นปัญหาที่ยากเย็นอะไร แต่ถึงเช่นนั้นก็ดี
                ข้อความซึ่งข้าพเจ้าได้ตอบปัญหานี้ในครั้งก่อนนั้น เป็นสาเหตุให้คนจำพวกหนึ่งร้องคัดค้าน และแสดงความเห็นต่าง ๆ เป็นอันมาก ข้าพเจ้าจึงยกเหตุนี้เป็นข้อแก้ตัวเป็นการที่กล่าวในเรื่องนี้อีกในที่นี้
                คำตอบปัญหาที่กล่าวข้างต้นนี้ ควรเราจะหารือพจนานุกรมดูว่าเขาจะแปลว่าอย่างไร
                พจนานุกรมอังกฤษของ เชมเบอร์ อธิบายคำต่างภาษาว่า
                ต่างภาษา” (คุณศัพท์) แปลว่า ต่างประเทศ ต่างกันด้วยนิสัยและลักษณะ (นาม) คนหรือสิ่งที่เป็นของต่างประเทศ คนที่ไม่มีความชอบธรรมโดยเต็มแห่งพลเมือง เพราะฉะนั้นถ้าจะว่ากันให้ตรงแท้สำหรับคนไทยแล้ว คำนี้ต้องแปลว่า คนอื่น ๆ ทุกคนซึ่งมิใช่คนไทยก็เป็นคนต่างภาษาทั้งสิ้น หรืออีกนัยหนึ่ง ถ้าท่านพอใจมากกว่า จะเรียกว่า ชาวต่างประเทศ ก็ได้
                ๔) การเริ่มเรื่องวิธีอื่น ๆ นักเรียนอาจใช้วิธีเริ่มเรื่องแบบอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวมาแล้วก็ได้ เช่น เริ่มต้นด้วยการตั้งคำถามหรือข้อปัญหา นิทานหรือนิยาย หรืออาจใช้ข้อขัดแย้งที่มีอยู่เพื่อเริ่มการเขียนอธิบายก็ได้

                ๑๐.๓ การเขียนบรรยาย
                ๑๐.๓.๑ ความหมายของการเขียนบรรยาย
                การเขียนบรรยาย หมายถึง การเขียนเล่าเรื่อง หรือเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องกัน โดยใช้ให้เห็นฉาก สถานที่ เวลา เหตุการณ์ สาเหตุที่ก่อให้เกิด สภาพแวดล้อม บุคคลที่เกี่ยวข้องตลอดจนผลที่เกิดจากเหตุการณ์นั้น ๆ เนื้อหาในการบรรยายอาจเป็นเรื่องจริง เช่น ประวัติบุคคล เรื่องเล่าจากประสบการณ์หรือเป็นเรื่องสมมุติ เช่น นิทาน นิยาย เรื่องสั้นที่มีการเล่าเรื่อง
                ๑๐.๓.๒ จุดมุ่งหมายในการเขียนบรรยาย
                จุดมุ่งหมายในการเขียนบรรยาย มีดังนี้
                ๘.๔.๒.๑ ใช้บอกเล่าเรื่อง เล่าเหตุการณ์ การเขียนชีวประวัติ การเขียนบันทึก การให้ข้อมูลการรายงานข่าว เป็นต้น
                ๘.๔.๒.๒ การเขียนบรรยายเป็นการเขียนเล่าข้อเท็จจริงหรือรายละเอียดของเรื่องตามที่เป็นอยู่โดยคำนึงถึงความต่อเนื่อง

                ๑๐.๓.๓ ลักษณะการเขียนบรรยายที่ดี
                การเขียนบรรยายที่ดีควรมีรายละเอียดที่ชัดเจน สื่อสารแบบตรงไปตรงมา คำนึงถึงถ้อยคำสำนวนที่สุภาพ การเขียนบรรยายตามความจริง สามารถใช้เป็นหลักฐานอ้างอิง ฉะนั้นจึงไม่มีการสอดแทรกอารมณ์หรือความรู้สึกลงไปในการเขียน

                ๑๐.๓.๔ หลักการเขียนบรรยาย
                หลักการเขียนบรรยาย มีดังนี้
                ๑) ถ้อยคำกะทัดรัด มีความหมายชัดเจน เข้าใจง่าย
                ๒) บรรยายไปตามลำดับเหตุการณ์ โดยไม่ทำให้ผู้อ่านสับสน
                ๓) ควรแทรกจุดที่น่าสนใจหรือทำให้ผู้ฟังเกิดความประทับใจ
                ๔) ควรบรรยายอย่างต่อเนื่องและยึดหลักของความเป็นเหตุเป็นผล

                ๑๐.๓.๕ กลวิธีในการเขียนบรรยาย
                การเขียนบรรยายมีกลวิธีรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้
                ๑) การบรรยายแบบบทละคร
                ๒) การบรรยายเรื่องทั่วไป
                ๓) การบรรยายสรุป

                ๑๐.๓.๖ ประเภทของเรื่องที่ใช้วิธีการเขียนบรรยาย
                ๑) อัตชีวประวัติหรือการเล่าประวัติชีวิตบุคคลต่าง ๆ
                ๒) ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์
                ๓) เรื่องที่แต่งขึ้นหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

                ๑๐.๔ การเขียนสะกดคำ
                ๑๐.๔.๑ ความหมายของการเขียนสะกดคำ
                การเขียนสะกดคำ หมายถึง การเขียนโดยเรียงลำดับพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ รวมทั้งตัวสะกดการันต์รวมกันเป็นคำได้อย่างถูกหลักเกณฑ์ และถูกต้องตามพจนานุกรมฉบับราชบันฑิตยสถาน เพื่อให้สามารถสื่อความหมายได้ถูกต้อง

                ๑๐.๔.๒ ความสำคัญของการเขียนสะกดคำ
                การเขียนสะกดคำให้ถูกต้องมีความสำคัญมากในการสื่อสารด้วยภาษาเขียน ต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง หากเขียนสะกดผิดพลาด นอกจากจะผิดหลักอักขรวิธีแล้ว ยังทำให้การสื่อความหมายผิดเพี้ยนไป เข้าใจไม่ตรงกันได้อีกด้วย นักเรียนควรเขียนสะกดคำให้ถูกต้องเพื่อจะได้ไม่เกิดความเสียหายและความผิดพลาดในการสื่อสาร

                ๑๐.๔.๓ สาเหตุที่ทำให้เขียนสะกดคำผิด
                ๑) ใช้แนวเทียบผิด
                ๒) ไม่สนใจในการเขียนว่าจะผิดหรือถูก
                ๓) ไม่ได้ศึกษาว่าคำใดเขียนอย่างไรจึงถูก
                ๔) ขาดการฝึกโดยเฉพาะในการเขียนตามคำบอก
                ๕) เห็นแต่แบบแผนที่ไม่ถูกต้องตลอดเวลา
                ๖) ขาดความรู้ในเรื่องรูปศัพท์เดิม

                ๑๐.๔.๔ วิธีการเขียนสะกดคำ
                ๑๐.๔.๔.๑ การประวิสรรชนีย์             
                ๑) คำพยางค์เดียวที่ออกเสียง อะ ให้ประวิสรรชนีย์ เช่น จะ นะ คะ ละ กะ
                ๒) พยางค์ท้ายของคำเมื่อออกเสียง อะ ให้ประวิสรรชนีย์ เช่น ธรรมะ โลหะ อิสระ
                ๓) คำเดิมที่เป็นคำสองพยางค์ ต่อมาเกิดการกร่อนเสียงพยางค์หน้า
                ๔) คำที่มาจากภาษาจีน ญี่ปุ่น ชวาและอื่น ๆ ให้ประวิสรรชนีย์

                ๑๐.๔.๔.๒ การไม่ประวิสรรชนีย์
                ๑) คำที่นิยมไม่ประวิสรรชนีย์มาแต่โบราณ เช่น
                ณ มีความหมายว่า ใน
                ธ มีความหมายว่า ท่าน
                ๒) คำที่พยางค์ของคำออกเสียง อะ ไม่เต็มมาตรา (ไม่เต็มเสียง) เช่น
                ทแยง      ตลาด พยักพเยิด
                ขโมย     สบาย ชนิด
                ๓) คำที่แผลงมาจากคำพยางค์เดียว มีพยางค์หน้าออกเสียง อะ เช่น
                บวช       แผลงเป็น                                   ผนวช
                ขด           แผลงเป็น                                   ขนด
                ขาน        แผลงเป็น                                   ขนาน
                ๔) คำภาษาบาลีสันสกฤตซึ่งเป็นคำสมาสที่ออกเสียง อะ เชื่อระหว่างคำ เช่น
                วีรชน     กิจกรรม                                      วิศวกร
                วีรชน     อุทกภัย                                        ศิลปกรรม

                ๑๐.๔.๔.๓ หลักการใช้ ใอไอ ไอย อัย
                ๑) การใช้ ใอ ใช้กับคำในภาษาไทยมี ๒๐ คำ          
                ๒) การใช้ ไอ ใช้กับคำที่มาจากภาษาอื่น
๓) การใช้ ไอย ใช้กับคำที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต
๔) การใช้
 “อัย ใช้กับคำบาลี-สันสกฤตที่ออกเสียง อะ และมี  เป็นตัวสะกดหรืออาจมีตัว ซ้อนกันก็ได้

                ๑๐.๔.๔.๔ หลักการใช้ อำ อัม อำม
                ๑) การใช้ “อำ
                ๑. ใช้ในคำไทยทั่วไป เช่น จำ,คำ,ทำ,รำ,นำ
                ๒. ใช้ในคำที่แผลงจากภาษาเขมร เช่น อำนาจ, กำเนิดตำรวจ
                ๓. ใช้ในคำที่มาจากภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาบาลี-สันสกฤต เช่น สำเภา, กำมะถัน
                ๒) การใช้ อัม
                ๑. ใช้ในคำที่บาลี – สันสกฤต ที่ออกเสียง  และมี  เป็นตัวสะกด
                ๒. ใช้ในคำที่มาจากภาษาต่างประเทศอื่น ๆ
                ๓) การใช้ “อำม
                ๑. ใช้กับคำบาลี-สันสกฤตที่พยางค์หน้าออกเสียง  อะ และมี  ตาม

                ๑๐.๔.๔.๕ หลักการใช้พยัญชนะ ศ ษ ส
                ๑) การใช้ 
                ๑. ใช้เขียนคำไทยแท้บางคำ
                ๒. ใช้เขียนคำที่มาจากภาษาสันสกฤตทั่วไป
                ๓. ใช้เขียนคำที่มาจากภาษาต่างประเทศอื่น ๆ
                ๒) การใช้ 
                ๑. ใช้เขียนคำไทยบางคำ
                ๒. ใช้เขียนคำที่มาจากภาษาสันสกฤต
                ๓) การใช้ 
                ๑.ใช้เขียนคำไทยแท้
                ๒. ใช้เขียนคำที่มาจากภาษาบาลีทั้งหมด
                ๓. ใช้เขียนคำที่มาจากภาษาสันสกฤตบางคำ
                ๔. ใช้เขียนคำที่มาจากภาษาต่างประเทศอื่น ๆ

                ๑๐.๔.๔.๖ หลักการใช้ไม้ไต่คู้
                ๑. ใช้ในคำไทยที่ออกเสี่ยงสั้น
                ๒ คำที่มาจากภาษาบาลี สันสกฤตถึงมีเสียงสั้นก็ไม่ต้องใช้ไม้ไต่คู้
                ๓. ใช้ในคำภาษาเขมรที่ออกเสียงสั้นและเขียนตามแบบไทย

                ๔. ใช้กับคำบางคำที่มาจากภาษาต่างประเทศอื่น ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น