หน่วยที่๔ การอ่านวรรณกรรมท้องถิ่น


หน่วยที่๔ การอ่านวรรณกรรมท้องถิ่น


                ๔.๑ ความหมายของวรรณกรรมท้องถิ่น
                วรรณกรรมท้องถิ่น หมายถึง เรื่องราวที่ผู้คนในท้องถิ่นสร้างขึ้นมาและเล่าสู่กันฟังในท้องถิ่น อาจมีการเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อบอกเล่าเรื่องราวสืบทอดกันในท้องถิ่นของตน

                ๔.๒ ความสำคัญของวรรณกรรมท้องถิ่น
                ๑) วรรณกรรมท้องถิ่นสะท้อนให้เห็นถึงคติธรรม ค่านิยม วัฒนธรรมประเพณีต่าง ๆ ของผู้คนแต่ละท้องถิ่น ผ่านทางวรรณกรรม
                ๒) วรรณกรรมท้องถิ่นโดยเฉพาะที่เป็นลายลักษณ์อักษรจะทำหน้าที่เก็บรวบรวมภาษาที่ใช้เป็นประจำถิ่นหรือที่เรียกว่า ภาษาถิ่น รวมทั้งสุภาษิตและสำนวนต่าง ๆ ของท้องถิ่นไว้อย่างมากมาย อันเป็นประโยชน์ด้านการศึกษาภาษาถิ่นและวัฒนธรรมท้องถิ่นด้วย
                ๓) วรรณกรรมท้องถิ่นเป็นเครื่องมืออบรมสั่งสอนจริยธรรมของคนในท้องถิ่น
                ๔) วรรณกรรมท้องถิ่นเป็นแหล่งบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณี และการดำเนินชีวิตของคนในท้องถิ่น

                ๔.๓ ลักษณะของวรรณกรรมท้องถิ่น
                ๑) วรรณกรรมท้องถิ่นมักมีรูปแบบขนบธรรมเนียมเป็นไปตามความนิยมของท้องถิ่น
                ๒) ผู้เล่าหรือผู้เขียนตลอดจนเรื่องราวของวรรณกรรมในท้องถิ่นใดก็มักเกี่ยวข้องกับกลุ่มชนในท้องถิ่นนั้น ๆ
                ๓) วรรณกรรมท้องถิ่นที่เป็นลายลักษณ์อักษร สามารถบันทึกไว้ในวัสดุต่าง ๆ เช่น ในใบลานหรือสมุดข่อย
                ๔) เนื้อหาของวรรณกรรมท้องถิ่นมักเป็นนิทาน นิยาย ส่วนใหญ่เป็นเรื่องจักร ๆ วงศ์ ๆ มุ่งให้ความบันเทิงใจ และสอดแทรกคติธรรมทางพุทธศาสนา
                ๕) โดยทั่วไปวรรณกรรมท้องถิ่นมีวัดเป็นศูนย์กลางในการเก็บรวบรวมข้อมูลและเผยแพร่
                ๖) ภาษาอักษรที่ใช้มีความเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชนที่รวมตัวอยู่ในท้องถิ่นเดียวกันนั้น

                ๔.๔ ประเภทของวรรณกรรมท้องถิ่น
                ๑) วรรณกรรมมุขปาฐะ
                ๒) วรรณกรรมลายลักษณ์
                วรรณกรรมท้องถิ่นโดยทั่วไปแบ่งตามลักษณะของเนื้อหาเป็น ๗ ประเภท ดังนี้
                ๑) นิทานพื้นบ้าน
                ๒) ตำนานพื้นบ้าน
                ๓) บทสวดในพิธีกรรม
                ๔) บทร้องพื้นบ้าน                                 
                ๕) สำนวน ภาษิต
                ๖) ปริศนาคำทาย
                ๗) ตำรา

                ๔.๕ อิทธิพลของวรรณกรรมท้องถิ่นที่มีต่อสังคม
                ๑) วรรณกรรมท้องถิ่นมีอิทธิพลต่อการแสดงพื้นบ้าน
                ๒) วรรณกรรมท้องถิ่นเป็นสื่อกลางระหว่างบ้านกับวัด
                ๓) วรรณกรรมท้องถิ่นมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของคนในสังคม

                ๔) วรรณกรรมท้องถิ่นมีอิทธิพลต่อศิลปะพื้นบ้าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น