หน่วยที่ ๓ การรับสารในชีวิตประจำวัน

หน่วยที่ ๓ การรับสารในชีวิตประจำวัน


                ๓.๑ ความหมายของการรับสารในชีวิตประจำวัน
                การรับสารในชีวิตประจำวัน หมายถึง การรับรู้เรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเป็นประจำเสมอ ๆ ในแต่ละวัน โดยใช้วิธีการฟัง การดู หรือการอ่าน เรื่องราวหรือสารที่มักพบเห็น

                ๓.๒ ลักษณะของสารในงานอาชีพ

                ๓.๒.๑ สารที่ให้ความรู้
                เป็นสารที่ผู้ฟังควรฟังด้วยความตั้งใจ และใช้ความพยายามทำความเข้าใจเนื้อหาสาระของเรื่องที่ฟัง ใช้ความรู้ ความคิด ความใคร่ครวญอย่างมีเหตุผล และประสบการณ์เดิมที่มีมาเข้าช่วยประกอบในการฟัง

               สารที่ให้ความเพลิดเพลินใจ


                เป็นสารที่ไม่เน้นสาระหรือความรู้มากนัก มักก่อให้เกิดผลทางจิตใจ อารมณ์หรือความรู้สึกแก่ผู้รับสาร ช่วยให้ผู้ฟังลดความเครียดผ่อนคลายสบายใจขึ้น สารดังกล่าวอาจมาจากสื่อที่เป็นเสียงหรือภาพ หรืออาจมีทั้งภาพและเสียงประกอบกัน

                ๓.๒.๓ สารที่ให้ความจรรโลงใจ
                เป็นสารที่ก่อให้เกิดผลทางจิตใจเป็นความสุขใจและซาบซึ้งใจแก่ผู้ฟัง ช่วยยกระดับจิตใจของผู้ฟังให้สูงขึ้น สารดังกล่าวอาจมีลักษณะคล้ายสารที่ให้ความเพลิดเพลินใจ แต่จะต่างกันที่ลักษณะของการให้แง่คิดหรือมุมมองที่นำไปใช้ประโยชน์ได้

                ๓.๒.๔ สารที่โน้มน้าวใจ
                เป็นสารที่เชิญชวนให้กระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือดึงดูดความสนใจของผู้ฟังในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยมากมักบอกวัตถุประสงค์อย่างชัดเจน ผ่านสื่อประเภทต่าง ๆ

                การรับสารด้วยการฟังอย่างมีประสิทธิภาพ   

  
   
                ๓.๓.๑ ความหมายของการฟัง
                การฟัง คือ ทักษะในการรับสารที่เป็นกระบวนการโดยอาจผ่านสื่อทางเสียง ผู้รับสารจะต้องมีสมาธิในการรับสารใช้ความคิดเพื่อความเข้าใจความหมายใช้ประสบการณ์และสติปัญญา เพื่อประเมินค่าความหมายที่ได้รับว่ามีคุณค่าเพียงใด แล้วนำความรู้ความคิดไปใช้ประโยชน์

                ๓.๓.๒ ความสำคัญของการฟัง
                การฟัง จัดเป็นการสื่อสารที่ส่งเสริมให้การรับสารมีผลสัมฤทธิ์มากขึ้น ทักษะการรับสารด้านการฟังและดูนั้นสามารถช่วยให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ที่พัฒนาก้าวหน้าขึ้นไปเรื่อย ๆ การฟังจึงมีความสำคัญ ดังนี้
                ๑) การฟังทำให้เป็นผู้มีความรู้
                ๒) การฟังทำให้เกิดความบันเทิง
                ๓) การฟังช่วยให้เกิดความคิดที่ดี

                ๓.๓.๓ วัตถุประสงค์ในการฟัง
                ในการที่จะฝึกนิสัยการฟังที่ดีนั้นย่อมขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการฟัง และการปรับปรุงทักษะในการฟังของตนให้เข้ากับการฟังแต่ละประเภท โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว การฟังมีวัตถุประสงค์ 3ประการ คือ
                ๑) ฟังเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน
                ๒) ฟังเพื่อให้เกิดความรู้
                ๓) ฟังเพื่อคิด

                ๓.๓.๔ กระบวนการในการฟัง
                การฟังเป็นกระบวนการรับรู้สารโดยมีขั้นตอนดังนี้
                ๑) ขั้นตอนการได้ยินเสียง
                ๒) ขั้นรับรู้หรือการพุ่งความสนใจ
                ๓) ขั้นการเข้าใจ
                ๔) ขั้นพิจารณาหรือขั้นการตีความ
                ๕) ขั้นการนไปใช้หรือขั้นการตอบสนอง

                ๓.๓.๕ ประโยชน์ของการฟัง
                การฟังมีประโยชน์ ดังนี้
                ๑) ทำให้เกิดความรู้
                ๒) ทำให้เกิดการพัฒนาตนเอง
                ๓) ทำให้เกิดความคิด
                ๔) ทำให้เกิดการพัฒนาสังคม

                ๓.๓.๖ องค์ประกอบของการฟัง
                การฟังให้เกิดประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 3 ประการ คือ
                ๑) ตัวผู้ฟัง
                ๒) จุดมุ่งหมายในการฟัง
                ๓) สภาพแวดล้อมในการฟัง

                ๓.๓.๗ มารยาทในการฟัง
                มารยาทและคุณสมบัติของผู้ฟัง ซึ่งผู้ฟังที่ดีควรปฏิบัติ

               หลักการฟังที่ดี


                การฟัง อาจฟังจากบุคคลโดยตรง หรือจากสื่อต่าง ๆ

                ๓.๓.๙ ขั้นตอนการฟัง
                การฟังแต่ละประเภทอาจมีหลักการ หรือขั้นตอนการฟังที่แต่งต่างกันไป

                ๓.๓.๑๐ การใช้วิจารณญาณในการฟัง
                วิจารณญาณ คือ ปัญญาที่สามารถรู้หรือให้เหตุผลที่ถูกต้อง
                การฟังที่มีวิจารณญาณ คือ การฟังอย่างไตร่ตรองไม่ใช่ฟังแล้วเชื่อในสิ่งที่ฟัง 

                ๓.๓.๑๑ การฟังเพื่อส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
                ความคิดสร้างสรรค์ คือ ความคิดที่เป็นอิสระ เป็นของตนเองในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ที่มีคุณค่า รู้จักปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แยกแยะ สรุป ตีความสิ่งที่ได้พบเห็น ได้รู้จักแล้วสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ ขึ้นมา นอกจากนั้นยังหมายรวมถึงการรู้จักคิดแก้ปัญหาได้หลาย ๆ วิธีการอีกด้วย
                จุดมุ่งหมายของการฟังที่แท้จริง คือ ฟังแล้วสามารถระลึกถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เราเคยฟังมาแล้วไม่จำเป็นที่จะต้องฟังสารใหม่แล้วเข้าใจในทันที การฟังจะนำไปสู่การจดจำ เมื่อความคิดของเราเชื่อมโยงสัมพันธ์กับสิ่งที่ฟังมาแล้ว

                ๓.๓.๑๒ การฟังเรื่องที่ให้ความรู้
                จุดมุ่งหมายในการฟัง การฟังสารใด ๆ ก็ตาม ผู้ฟังจะต้องมีความรู้ในองค์ประกอบของสารว่าประกอบด้วยส่วนที่เป็นข้อเท็จจริง ส่วนที่เป็นความคิดเห็น และส่วนที่เป็นการแสดงอารมณ์ ความรู้สึก ผู้ฟังจะต้องจำแนกหรือจับประเด็นได้ว่า ส่วนใดของข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น หรือการแสดง อารมณ์ความรู้สึก

                ๓.๓.๑๓ การฟังเรื่องที่ให้ข้อคิด
                การฟังเรื่องที่ให้ข้อคิด อาศัยหลักเบื้องต้นเช่นเดียวกับการฟังเรื่องที่ให้ความรู้ ประสบการณ์ และวิจารณญาณของผู้ฟังเข้าไปวิเคราะห์พิจารณาสารที่ฟังด้วย มักจะเป็นการฟังสารที่เสนอความคิดโน้มน้าวใจให้เชื่อถือคล้อยตาม

                ๓.๓.๑๔ การฟังเรื่องที่จรรโลงใจ
                การฟังเรื่องที่จรรโลงใจ หมายถึง ฟังสารที่ช่วยพยุงจิตใจไม่ให้ซวดเซเศร้าหมอง อาจเป็นการฟังที่ยกระดับจิตใจให้สูงส่งดีงาม ให้มีกลังใจ ให้มีความสุข ให้เกิดความเพลิดเพลิน

                ๓.๓.๑๕ การพัฒนาสมรรถภาพการฟัง
                สมรรถภาพการฟัง คือ ความสามารถของผู้ฟังซึ่งสามารถเข้าใจความหมายของเรื่องที่ฟังตรงตามความต้องการของผู้พูด
                การฟังสารอย่างมีประสิทธิภาพ และได้รับประสิทธิผลจากการฟังเป็นอย่างดี อาจจะพิจารณาจากความสามารถของผู้ฟังได้ดังนี้
                ๑) ฟังแล้วจับประเด็นได้
                ๒) ฟังแล้วสามารถวิเคราะห์ได้
                ๓) ฟังแล้วตีความได้
                ๔) ฟังแล้วประเมินคุณค่าได้
                ๕) ฟังแล้วจดบันทึกได้

                ๓.๓.๑๖ การฝึกการฟัง
                สำหรับผู้ฟังที่ต้องการพัฒนาสมรรถภาพการฟัง สามารถฝึกฝนได้ดังนี้
                ๑) ฝึกความสามารถในการได้ยิน
                ๒) ฝึกจิตให้มั่งคง
                ๓) ฝึกฟังทั้งวัจนสารและอวัจนสาร

                การรับสารด้วยการดูอย่างมีประสิทธิภาพ



                ๓.๔.๑ ความหมายของการดู
                การดู หมายถึง การรับสารทางสายตา ซึ่งการดูนั้นจะทำให้เรามองเห็นภาพของสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต การเคลื่อนไหว เหตุการณ์ เรื่องราว ตลอดจนสีสันต่าง ๆ

                ๓.๔.๒ วัตถุประสงค์ในการดู
                ๑) ดูเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ
                ๒) ดูเพื่อให้เกิดความจรรโลงใจ
                ๓) ดูเพื่อให้เกิดความสุขและความเพลิดเพลิน

                ๓.๔.๓ ประเภทของการดู
                การดูมีอยู่ 2 ประเภท คือ
                ๑) การดูของจริง
                ๒) การดูผ่านสื่อ

                ๓.๔.๔ มารยาทในการดู
                มารยาทและคุณสมบัติของผู้ดูที่ดีควรปฏิบัติ ดังนี้
                ๑) มีความตั้งใจและความพร้อมในการดู
                ๒) มีสมาธิติดตามเนื้อหาที่ดูโดยตลอด
                ๓) มีจิตใจเป็นกลาง ไม่มีอคติในทางหนึ่งทางใด
                ๔) ไม่แสดงกิริยาอาการใด ๆ อันเป็นการรบกวนสมาธิของผู้ดูคนอื่น
                ๕) มีความสรวมระวังในการนั่งดู ด้วยการนั่งให้สุภาพเรียบร้อย ถูกต้องตามวัฒนธรรม

                ๓.๔.๕ หลักการดูที่ดี
                ตามธรรมดาแล้ว การดูกับการฟังมักจะเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน และดำเนินควบคู่กันไปเพราะสิ่งที่มีให้ดูอยู่ในสื่อ ทั้งสื่อโทรทัศน์ สื่อคอมพิวเตอร์ และสื่อภาพยนต์ จะได้เห็นภาพและได้ฟังเสียงของภาพนั้น ๆ ไปพร้อมกัน หลักการดูจึงใกล้เคียงกับหลักการฟังในหลายประการหลักการดูเพื่อให้เกิดผลดีมีดังนี้
                ๑) ดูอย่างมีจุดมุ่งหมาย
                ๒) เลือกเรื่องที่จะดูให้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมาย
                ๓) เลือกดูในสิ่งที่ควรดู                          
                ๔) ดูอย่างมีวิจารณญาณ
                ๕) นำสิ่งที่ดูมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

                ๓.๔.๖ ประโยชน์ของการดู
                การดูเป็นการแสวงหาความรู้ ความบันเทิง และการพักผ่อนหย่อนใจ ก่อให้เกิดประโยชน์
                ๓.๕ การรับสารด้วยการอ่านอย่างมีประสิทธิภาพ

                ความหมายของการอ่าน


                การอ่าน คือ ทักษะในการรับสารที่ผู้รับสารจะต้องมีสมาธิในการรับสารโดยใช้สายตากวาดไปตามตัวอักษร เพื่อทำความเข้าใจกับเรื่องราวราวต่าง ๆ ที่ผู้เขียนสื่อสารมา ทั้งนี้ผู้อ่านต้องใช้ประสบการณ์และสติปัญญา เพื่อประเมินค่าสิ่งที่อ่านด้วยว่ามีคุณค่าเพียงใดแล้วนำความรู้ความคิดไปใช้ประโยชน์

                ๓.๕.๒ ความสำคัญของการอ่าน
                การอ่านมีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนโต การอ่านเป็นทักษะสำคัญอย่างยิ่งในยุคปัจจุบันที่ถือเป็นยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร การอ่านจึงมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะทำให้รู้ข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ ทั่วโลก ผู้อ่านจะสามารถรู้เรื่องราวต่างๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการนไปใช้ในชีวิตประจำวันและในงานอาชีพ นอกจากนี้การอ่านยังสามารถทำให้ผู้อ่านได้พัฒนาตนเองทำให้เป็นคนทันสมัย

                ๓.๕.๓ จุดมุ่งหมายของการอ่าน
                ๑) การอ่านเพื่อการศึกษาค้นคว้า
                ๒) การอ่านเพื่อความบันเทิง
                ๓) การอ่านเพื่อความคิดหรือเพื่อสนองความต้องการอื่น ๆ

                ๓.๕.๔ คุณสมบัติของนักอ่านที่ดี
                ๑.มีนิสัยใฝ่หาความรู้ รักการอ่าน
                ๒.มีความอดทน และมีสมาธิในการอ่าน
                ๓.มีเจตคติที่ดีต่อการอ่านและเรื่องที่อ่าน
                ๔. มีนิสัยหมั่นทบทวน ติดตาม ค้นคว้าเพิ่มเติม
                ๕. มีนิสัยชอบจดบันทึกเรื่องราว ๆ
                ๖. มีความจำดี รู้จักหาวิธีช่วยจำ

                ๓.๕.๕ วิธีการอ่าน
                การอ่านที่ต้องใช้ความพิถีพิถัน และเอาใจใส่เป็นพิเศษ ผู้อ่านจึงต้องใช้วิธีการอ่านหลาย ๆ วิธีประกอบกัน ดังนี้
                ๑) อ่านเพื่อเข้าใจเรื่อง                            
                ๒) อ่านเพื่อเก็บใจความสำคัญ
                ๓) อ่านเพื่อวิเคราะห์
                ๔) อ่านเพื่อตีความ                                  
                ๕) อ่านเพื่อประเมินค่า

                ๓.๕.๖ การอ่านวิเคราะห์ และวินิจสาร
                การอ่านวิเคราะห์สารเป็นกระบวนการพิจารณาแยกแยะสาร เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างละเอียดลึกซึ้งในแง่มุมต่าง ๆ รวมทั้งการแสวงหาคำตอบ ส่วนการวินิจสารเป็นการพิจารณาเนื้อความในสารอย่างละเอียดถี่ถ้วน รวมทั้งสารประโยชน์ต่าง ๆ ที่ได้รับ

                ๓.๕.๗ การวิเคราะห์และประเมินค่าสารจากการอ่าน ประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้
                ๑) พิจารณาเนื้อหาสาระ
                ๒)วิเคราะห์โครงสร้างของงานเขียน
                ๓) พิจารณาคุณค่าของงานเขียน

               การอ่านนิทานพื้นบ้าน เรื่องตาม่องล่าย



                ตาม่องล่าย เป็นตำนานนิทานพื้นบ้าน ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ไม่ปรากฎหลักฐานว่าผู้ใดแต่ง สันนิษฐานว่าผู้แต่งต้องเป็นผู้ที่รอบรู้ภูมิประเทศ ภูมิศาสตร์ แถบชายทะเลตะวันออกนี้เป็นอย่างดี จึงสามารถผูกเรื่องราวต่าง ๆ ให้เข้ากับชื่อสถานที่รอบบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และจังหวัดใกล้เคียง ได้อย่างน่าทึ่ง 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น