หน่วยที่ ๒ การเลือกใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร

หน่วยที่ ๒ การเลือกใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร



                คำ หมายถึงคำพูดที่มนุษย์ใช้ติดต่อสื่อความหมาย
                คำแต่ละคำอาจจะมีพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ เป็นได้ทั้งคำหลัก กลุ่มคำ หรือวลี การใช้คำสื่อความหมายได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับ บุคคล กาลเทศะ โอกาส และสถานการณ์ตรงตามความหมาย จะช่วยให้การสื่อสารบรรลุตามวัตถุประสงค์

                ความหมายของคำและกลุ่มคำ ประกอบด้วยความหมายเฉพาะของคำ และความหมายเทียบเคียงกับคำอื่น
๒.๑.๑ ความหมายเฉพาะของคำ
                แบ่งออกเป็นความหมายตามตัวความหมายเชิงอุปมา ความหมายนัยตรงและความหมายนัยประหวัด

                ๒.๑.๑.๑ ความหมายตามตัวกับความหมายเชิงอุปมา
                ๑) ความหมายตามตัว หมายถึง ความหมายเดิมของคำสังเกตได้จากบริบท
                ๒) ความหมายเชิงอุปมา หมายถึง ความหมายของคำที่เกิดจากการเปรียบเทียบ

                ๒.๑.๑.๒ ความหมายนัยตรงกับความหมายนัยประหวัด
                ๑) ความหมายนัยตรง หมายถึง ความหมายที่ปรากฏตามพจนานุกรมซึ่งอาจจะเป็นความหมายตามตัวหรือความหมายตามตัวหรือความหมายเชิงอุปมาที่คนทั่วไปเข้าใจ
                ๒) ความหมายนัยประหวัด หมายถึง ความหมายของคำนั้นๆ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิดไปถึงสิ่งอื่น

๒.๑.๒ ความหมายเทียบเคียงกับคำอื่น

๒.๑.๒.๑ คำพ้องความหมาย
                                คำที่มีความหมายคล้ายกัน แต่ใช้ต่างกันตามระดับการใช้ โอกาส บุคคล สถานการณ์ สถานที่ และกาลเวลา
๒.๑.๒.๒ คำแย้งความหมายหรือคำตรงข้าม แบ่งเป็น ๓ กลุ่ม
                ๑) คำแย้งความหมาย คือ คำที่มีความหมายตรงข้ามกัน ในแง่คำที่คำหนึ่งจะมีความหมายว่ามากกว่าหรือน้อยกว่าแนวกำหนดในใจของผู้พูดเพราะคำกลุ่มนี้มักจะเป็นคำขยายที่ใช้ประเมินค่าสิ่งต่างๆ
                ๒) คำแย้งความหมายแยกแยะ คือ คำที่มีความหมายตรงกันข้าม
                ๓) คำแย้งความหมายเกี่ยวเนื่อง คือ คำที่มีความหมายตรงกันข้ามแต่เกี่ยวข้องกันในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ซึ่งส่วนมากจะเป็นเรื่องสถานภาพของบุคคล
๒.๑.๒.๓ คำที่มีความหมายร่วมกัน ได้แก่ คำจำนวนหนึ่งทีมีความหมายส่วนหนึ่งต่างกันแต่อีกส่วนหนึ่งเหมือนกัน
๒.๑.๒.๔ คำที่มีความหมายครอบคลุมคำอื่น หรือ คำว่า กลุ่ม ซึ่งมีความหมายแคบกว้างต่างกัน

๒.๒วิธีการใช้คำและกลุ่มคำ
๒.๒.๑ ใช้คำให้ตรงความหมาย
                การใช้คและกลุ่มคำ ควรคำนึงถึงความหมายของคำ ต้องเลือกใช้คำให้ตรงตามความหมาย สังเกตำแวดล้อมหรือบริบทประกอบ
๒.๒.๒ ใช้คำให้เหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล
                การสื่อสารของบุคคล มีการใช้คำตามระดับภาษา  โดยมีฐานะของบุคคล โอกาส กาลเทศะเป็นสิ่งกำหนด ถ้าใช้ไม่ถูกต้องเหมาะสม จะทำให้การสื่อสารไม่สัมฤทธิผลตามวัตถุประสงค์
๒.๒.๓ ใช้คำที่ทำให้มองเห็นภาพและให้ความรู้สึก
                การรู้จักเลือกใช้คำหลังกลุ่มคำวิเศษณ์ หรือวิธีการอุปมาเปรียบเทียบมาใช้จะช่วยให้เห็นภาพชัดเจนและให้ความรู้สึกมากขึ้น
๒.๒.๔ ใช้คำหลากคำ
                การหลากคำ หมายถึง การเลือกใช้คำที่มีความหมายใกล้เคียงกันหรือคล้ายคลึงกันเพื่อไม่ให้คำเดิมซ้ำๆ
๒.๒.๕ สังเกตบริบทของคำ
                บริบท คือ คำแวดล้อม สถานการณ์แวดล้อมคำจะช่วยให้ทราบเจตนาของผู้ส่งสาร และรู้ความหมายของคำและคำอื่นๆ
๒.๓ ระดับภาษา
                ภาษาไทยเป็นภาษามีระดับ เนื่องจากสังคมไทยมีวัฒนธรรมการเคารพผู้อาวุโส มีการใช้ภาษาตามระดับบุคคล ตามความสัมพันธภาพ ทำให้สามารถเลือกใช้ระดับภาษาให้ถูกโอกาส กาลเทศะและสถานการณ์
                แบ่งภาษาออกเป็น ๕ ระดับ
                ๑. ภาษาระดับพิธีการ
                ๒. ภาษาระดับทางการ
                ๓. ภาษาระดับกึ่งทางการ
                ๔. ภาษาระดับสนทนา
                ๕. ภาษาระดับกันเอง
ปัจจัยที่กำหนดระดับของภาษา
                ๑. โอกาสและสถานที่
                การสื่อสารกับบุคคลกลุ่มใหญ่หรือในที่ประชุม มีการใช้ภาษาระดับที่ต่างจากการสื่อสาร ในแต่ละโอกาส ที่เป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ การสื่อสารที่บ้านหรือในชุมชนหรือในสถานที่ราชการ
                ๒. สัมพันธภาพระหว่างบุคคล
                การสื่อสารในองค์กรระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา การสื่อสารของบุคคลที่เพื่อนสนิทกันย่อมพูดจาต่างไปจากคนที่เพิ่งรู้จักกัน แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นกับปัจจัยข้อที่ ๑ คือโอกาสและสถานที่ แม้จะเป็นเพื่อนสนิทกัน เมื่ออยู่ในที่ประชุมที่จัดขึ้นอย่างเป็นทางการ ย่อมไม่อาจใช้ระดับภาษากันเองได้  เป็นสิ่งที่ต้องระวังในการสื่อสารเป็นอย่างยิ่งเพราะจะทำให้เสียภาพลักษณ์
                ๓. ลักษณะของเนื้อหา
                เนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวจะไม่ใช้ภาษาระดับพิธีการหรือระดับทางการ
                ๔. สื่อที่ใช้ส่งสาร
                การบอกต่อๆ กันไปด้วยปาก การบอกผ่านเครื่องขยายเสียง และการพูดทางวิทยุกระจายเสียงหรือโทรศัพท์ ภาษาที่ใช้ย่อมแตกต่างกัน

๒.๓.๑ ภาษาระดับพิธีการ
                - ใช้สื่อสารในที่ประชุมจัดขึ้นอย่างเป็นพิธีการ
                - ส่วนใหญ่ผู้ส่งสารจะเป็นผู้กล่าวฝ่ายเดียวไม่มีการโต้ตอบหรือถามคำจากกลุ่มผู้รับสาร
                - ภาษาที่ใช้มีลักษณะเป็นพิธีการเป็นทางการมีความจริงจังโดยตลอด จะใช้แต่ถ้อยคำที่เลือกเฟ้นอย่างดีแล้ว

๒.๓.๒ ภาษาระดับทางการ
                - ใช้บอกหรือรายงานให้ทราบ ให้ความรู้เสนอความคิดเห็นอย่างเป็นการเป็นงาน เช่น การอภิปราย การบรรยายอย่างเป็นทางการในที่ประชุม

๒.๓.๓ ภาษาระดับกึ่งทางการ
                - ใช้ในการประชุมกลุ่มเล็กลงกว่าการประชุมที่เป็นทางการ และลดความเป็นงานเป็นการลงบ้าง เพื่อให้เกิดความใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร
                - ผู้ส่งสารและผู้รับสารอาจมีการโต้ตอบหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้เป็นระยะๆบ้าง
                - ถ้อยคำที่ใช้อาจจะมีศัพท์วิชาการได้เท่าที่จำเป็น

๒.๓.๔ ภาษาระดับสนทนา
                - ใช้สนทนาโต้ตอบกันระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคลไม่เกิน ๔-๕ คน ในสถานที่และเวลาที่ไม่ใช่เป็นการส่วนตัว ถ้อยคำที่ใช้อาจมีถ้อยคำที่เคยใช้กันเฉพาะกลุ่มหรือเข้าใจความหมายตรงกันได้ในกลุ่มเท่านั้น

๒.๓.๕ ภาษาระดับกันเอง
                - ใช้สื่อสารกันในครอบครัว ระหว่างสามีภรรยาหรือระหว่างเพื่อนสนิท มักใช้ในสถานที่ที่เป็นส่วนตัว
                - ภาษาระดับนี้มักใช้ในการพูดจากกันเท่านั้น อาจจะปรากฏในนวนิยายหรือเรื่องสั้นบางตอนเพื่อทำให้เรื่องสมจริง
                - ถ้อยคำที่ใช้อาจมีคำคะนองที่ใช้กับเฉพาะกลุ่ม หรือคำภาษาถิ่น
ลักษณะของภาษาระดับต่างๆ
                ๑. การเรียบเรียง
                ภาษาระดับพิธีการและระดับทางการ ผู้ส่งสารจะพิถีพิถันขัดเกลาภาษาให้ไพเราะ มีความต่อเนื่องกลมกลืนกันอย่างมีระเบียบ ข้อความจะไม่สับสนวกวน
                ภาษาระดับกึ่งทางการ อาจจะมีการพูดที่ไม่เรียงลำดับหรือไม่เป็นระเบียบ อาจมีการพูดนอกเรื่อง พูดในสิ่งที่ตนอยากพูด ทั้ง ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกบประเด็น
                ถ้าเป็นการเขียน ผู้เขียนต้องระมัดระวังในเรื่องการลำดับข้อความเพื่อให้อ่านเข้าใจได้
                ส่วนภาษาระดับสนทนาและระดับกันเอง ความเป็นระเบียบในการส่งสารลดลงเป็นลำดับ ใช้ภาษาที่รู้กันเฉพาะกลุ่ม
                ๒. กลวิธีการนำเสนอ
                ภาษาระดับพิธีการและระดับทางการ มักจะนำเสนออย่างกลาง ๆ ไม่เจาะจงส่งสารไปที่ผู้ใดผู้หนึ่ง ผู้รับสารเป็นกลุ่มบุคคล ผู้ส่งสารจะส่งสารในฐานะเป็นผู้แทนของกลุ่มบุคคล กล่าวในนามของตำแหน่ง
นั้น ๆ
                ภาษาระดับกึ่งทางการ ผู้ส่งสารสามารถแทรกน้ำเสียงของตน เพื่อความคุ้นเคยเข้าในบางช่วงได้
                ๓. ถ้อยคำที่ใช้
                คำสรรพนาม
                ภาษาระดับพิธีการ ระดับทางการและระดับกึ่งทางการ
                ภาษาระดับสนทนาและระดับกันเอง
                ๒.๔ การใช้สำนวน
                สำนวน หมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียง โวหาร การใช้ถ้อยคำในเชิงเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นภาพสมจริงตามต้องการ
                แหล่งที่มาของสำนวน
                สาเหตุของการเกิดสำนวนต่าง ๆ เกิดจากประสบการณ์ของคนรุ่นเก่า ส่วนใหญ่เกิดจากสิ่งแวดล้อมใกล้ ๆ ตัว สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันหรือสิ่งที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาพูดเปรียบเทียบให้เห็นถึงความจริง หรือให้เห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
                สำนวนที่มีการเปลี่ยนแปลงถ้อยคำ

                สำนวนเดิมที่มีการเปลี่ยนแปลงถ้อยคำมีสาเหตุมาจากการออกเสียง สำนวนนั้นค่อนข้างยาก ไม่สะดวกปาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น