หน่วยที่๗ การพูดสรุปความ

หน่วยที่๗ การพูดสรุปความ


                ๗.๑ ความหมายของการพูดสรุปความ
                การพูดสรุปความ หมายถึง การพูดเพื่อนสาระสำคัญของเรื่องที่ได้อ่าน ฟัง ดู หรือแม้กระทั่งที่พูดอื่นมาก่อนแล้ว นำมาถ่ายทอดโดยวิธีสรุปเฉพาะใจความสำคัญให้กับผู้ที่รับสารด้วยการฟังเข้าใจง่าย

                ๗.๒ ความสำคัญของการพูดสรุปความ
                การสรุปความ บทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของคนทั่วไป นักวิทยาศาสตร์ นายแพทย์ นักข่าว ครูอาจารย์ ตลอดจนนักธุรกิจทุกแขนงต้องใช้การพูดสรุปความในงานอาชีพของตนทั้งสิ้น นักเรียนใช้การพูดสรุปความในการนเสนอสรุปการฟังการบรรยายโดยการจับประเด็นสำคัญสำหรับบุคคลทั่ว ๆ ไปสามารถนำการพูดสรุปความมีความสำคัญต่อบุคคลทุกอาชีพและทุกวงการ การพูดสรุปความที่มีประสิทธิภาพผู้พูดควรศึกษาหลักการพูดที่ถูกต้อง

                ๗.๓ โอกาสที่สามารถนำการสรุปความไปใช้
                ในชีวิตประจำวันของเรามักพบเห็นการพูดสรุปความตามสื่อต่าง ๆ มากมาย โอกาสที่สามารถนำการสรุปความไปใช้ มีดังนี้
                ๑) นำไปใช้ในการนำเสนอข่าวและเหตุการณ์ต่าง ๆ
                ๒) นำไปสรุปปิดท้ายในการพูดอภิปรายทั่ว ๆ ไปได้
                ๓) นำไปใช้สรุปเรื่องที่ได้ฟังจากการบรรยายความรู้เพื่อทบทวนความจำได้
                ๔) นำไปใช้ในการสรุปรายละเอียดของวาระในการประชุม
                ๕) นำไปใช้ในการสรุปผลการปฏิบัติงานในรูปแบบการรายงานผลงานปฏิบัติงาน

                ๗.๔ จุดประสงค์ของการพูดสรุปความ         
                ๑) เพื่อให้ผู้ฟังได้รับทราบรายละเอียดเฉพาะที่สำคัญของเรื่องที่พูด
                ๒) เพื่อให้ผู้ฟังได้รับทราบรายละเอียดต่าง ๆ ของเรื่องโดยย่นระยะเวลา
                ๓) เพื่อให้ผู้ฟังสามารถรับรู้เรื่องต่าง ๆ ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
                ๔) เพื่อให้ผู้ฟังได้รับทราบเรื่องต่าง ๆ ตรงประเด็นที่สุด

                ๗.๕ คุณสมบัติของผู้พูดสรุปความ
                ๑) เป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่จะพูดสรุปความเป็นอย่างดี  เข้าใจวิธีการจับประเด็นของเรื่องที่จะพูดสรุปความได้ดี
                ๒) เป็นผู้ที่มีความสามารถในการใช้ภาษาถูกต้องเหมาะสมชัดเจน
                ๓) เป็นผู้ที่มีความเอาใจใส่หมั่นศึกษาหาความรู้วีการสรุปความจากสื่อต่างๆ
                ๔) เป็นผู้ที่มีศิลปะในการถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ โดยการพูด
                ๗.๖ ประเภทของการพูดสรุปความ
                ๑) การพูดสรุปความจาการอ่าน  เป็นการที่ผู้พูดได้อ่านสิ่งที่น่าสนใจแล้วนำมาพูดโดบสรุปให้ผู้อื่นได้ฟัง
                ๒) การพูดสรุปความจากการฟัง  เป็นการที่ผู้พูดได้ฟังหรือดูสิ่งที่น่าสนใจแล้วนำมาพูดโดยสรุปให้ผู้อื่นได้ฟัง

               หลักการพูดสรุปความ


                ๑) กำหนดวัตถุประสงค์ในการพูดสรุปความ
                ๒) ศึกษารายละเอียดต่างๆ  ของเรื่องที่ต้องการนำมาพูดโดยการอ่านหรือการฟัง
                ๓) ทำความเข้าใจกับสาระสำคัญของเรื่องที่จะพูด
                ๔) ทำความเข้าใจกับคำศัพท์สำนวนต่างๆ ให้ถ่องแท้
                ๕) รู้จักใช้วิธีการวิเคราะห์สารจากสารที่ฟังหรืออ่านก่อนการสรุปความ
                ๖) เตรียมความพร้อมที่จะพูดสรุปความอย่างมีศิลปะการพูด
                ๗) ในการพูดสรุปความผู้พูดสามารถแสดงความคิดเห็นของตนเองได้แต่ต้องไม่ขัดแย้งกับสาระสำคัญที่ปรากฏในเนื้อเรื่องนั้นๆ

                ๗.๘ ข้อเสนอแนะในการพูดสรุปความ
                ๑) ผู้พูดควรมีจุดมุ่งหมายในการพูดสรุปความให้ชัดเจนว่าจะพูดให้ใครฟัง  เพื่ออะไร
                ๒) ผู้พูดควรสรุปความเฉพาะประเด็นสำคัญ ๆ อาจเสริมด้วยความคิดเห็นของตนได้เพียงเล็กน้อย
                ๓) การใช้ภาษาผู้พูดควรถ่ายทอดคำศัพท์และถ้อยคำสนวนให้ตรงตามความหมายเดิมของเจ้าของเรื่อง
                ๔) ควรเรียงลำดับการพูดไปตามลำดับขั้นตอนหรือตามเหตุการณ์ที่ปรากฏ
                ๕) ควรฝึกซ้อมการพูดสรุปความให้กระชับ  ชัดเจน  ตรงประเด็น
                ๖) การใช้ภาษาพูดควรใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์และโอกาสที่พูด
                ๗) พยายามศึกษาหาความรู้จากผู้พูดอื่นที่มีประสบการณ์ในการพูดหรือเป็นนักพูด
                ๘) พูดด้วยเสียงดังฟังชัด  ได้ยินทั่วกัน

                ๙) เมื่อพูดจบควรเปิดโอกาสให้ผู้ฟังซักถามได้ในกรณีที่เป็นการพูดต่อประชุมชน

2 ความคิดเห็น: