หน่วยที่ ๑ การใช้ภาษาไทยในการส่งสารและรับสาร

หน่วยที่ ๑ การใช้ภาษาไทยในการส่งสารและรับสาร

หน่วยที่ ๑ การใช้ภาษาไทยในการส่งสารและรับสาร


                ปัจจุบันสังคมไทยเป็นยุคข้อมูลข่าวสาร  มีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี  ทำให้การสื่อสาร  ในสังคมไทยได้รับอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อม  ในการรับสารและส่งสารในสิ่งที่มีประโยชน์เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันและในงานอาชีพ  เพราะฉะนั้นจึงต้องรู้จักเลือกใช้ภาษาไทย  การใช้ถ้อยคำ  สนวน ระดับภาษา  ในการส่งสารและรับสารให้เหมาะสม  ถูกต้องตามหลักการใช้ภาษา  เหมาะสมกับบุคล  กาลเทศะ  การฟัง  การดู  และการอ่าน

               การใช้ภาษาไทยในการรับสาร

                การใช้ภาษาไทยในการรับสาร  ได้แก่ การฟังและการอ่าน
                การฟัง  หัวใจของนักปราชญ์ ได้แก่ สุ จิ ปุ ลิ   การฟังผู้ที่ฟังมากย่อมได้ชื่อว่าเป็น พหูสูต  หัวใจของนักปราชญ์ให้ความสำคัญกับการฟังเป็นอันดับแรก
                การอ่าน  การอ่านเป็นทักษะอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญ  และมีประโยชน์โดยตรงในชีวิตประจำวัรน  ตลอดจนในงานอาชีพ เพราะนอกจากจะทำให้ได้รับรู้ถึงความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่นแล้วยังเป็นการเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจ เหมือนการเปิดโลกในแง่มุมต่างๆ ของผู้อ่านให้กว้างขึ้น

              การใช้ภาษาไทยในการส่งสาร


                การใช้ภาษาในการส่งสาร ได้แก่ การพูด และการเขียน
                การพูด  การพูดในชีวิตประจำวันที่บุคคลทั่วไปใช้พูดจากันระหว่างสมาชิกในครอบครัวรวมทั้งบุคคลในสังคม ได้แก่  การพูดสนทนาทั่วไป  การพูดแนะนำตัวเอง แนะนำผู้อื่น รวมถึงการพูดในงานอาชีพ  การพุดอธิบาย  การพูดบรรยาย  การพูดเพื่อขาย การพูดสาธิต  การทำหน้าที่พิธีกร  ผู้พูดต้องคำนึงถึงหลักการพูดแต่ละประเภท  รวมทั้งการใช้ภาษา  สำนวน  และการใช้ถ้อคำให้เหมาะสมระดับของบุคคล  กาลเทศะ  ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาเพื่อให้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและในงานอาชีพต่อไป
                การเขียน  เป็นทักษะที่มีความสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเขียนสะกดคำให้ถูกต้องตามหลักภาษา  การเลือกใช้ถ้อยคำสำนวนให้เหมาะสม การเขียนเค้าโครงการพูดในชีวิตประจำวันและในงานอาชีพ  การเขียนโครงการ  การเขียนรายงานการปฏิบัติงาน การเขียนเชิงวิชาการ การเขียนจดหมายธุรกิจ จดหมายสมัครงานรวมทั้งการฝึกทักษะการเขียนจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ

                ๑.๓ ปัญหาการใช้ภาษาไทยและแนวทางแก้ไข
                ปัญหาการใช้ภาษาในปัจจุบันมีข้อบกพร่องในการใช้ภาษา ได้แก่ การใช้ภาษาผิด การใช้ภาษาไม่เหมาะสม  การใช้ภาษาไม่กระจ่าง ตลอดจนการใช้ภาษาไม่สละสลาย

                ๑.๓.๑ การใช้ภาษาผิด
                การใช้ภาษาผิดได้แก่ การใช้คำผิดความหมาย หรือใช้ภาษาผิดหลักไวยากรณ์
                ๑.การใช้คำผิดความหมาย  ได้แก่ การใช้คำที่มีความหมายแฝง คำที่เสียงคล้ายคลึงกัน คำที่มีความหมายคล้ายคลึงกัน และคำไวยากรณ์  เช่น ลักษณะนาม บุพบท สันธานไม่ถูกต้อง
                ๒. การใช้ลักษณะนาม  บุพบท สันธานผิด
                ๓. การใช้กลุ่มคำและสนวนผิด
                ๔. การเรียงคำหรือกลุ่มคำผิดลำ
ดับ การเรียงคำผิดลดับ คือการเรียงคำในลำดับที่ทำให้ความหมายไม่ตรงกับที่ต้องการ หรือเรียงคำไม่ถูกต้องตามหลักภาษา มีสาเหตุจากการวางกลุ่มคำขยาย ผิดคำ ตำแหน่ง                   
                ๕. การใช้ประโยคไม่สมบูรณ์  โครงสร้างของประโยคผิดไป เช่นประโยคที่ขาดส่วนสำคัญของประโยคและประโยคที่มีส่วนเกินเข้ามาทำให้ซ้ำซ้อน

                ๑.๓.๒ การใช้ภาษาไม่เหมาะสม
                ๑.การใช้ภาษาพูดในภาษาเขียน
                ๒. การใช้คำต่างประเทศในภาษาเขียน
                ๓. การใช้คำไม่เหมาะสมกับความรู้สึก
                ๔. การใช้คำไม่เหมาะกับเนื้อความ
                ๕. การใช้คำต่างระดับ
                ๖. การใช้คำไม่เหมาะกับโวหาร

                ๑.๓.๓ การใช้ภาษาไม่กระจ่าง
                ๑. การใช้คำไม่ชัดเจน ได้แก่ การใช้คำที่มีความหมายไม่แน่นอน เช่น คำที่มีความหมายแสดงความรู้สึกต่างๆ หรือประเมินค่าว่า ดี เลว
                ๒.การแสดงความคิดไม่สอดคล้องกัน
                ๓. การใช้ประโยคกำกวม คือสามารถแปลความได้หลายอย่าง
                ๑.๓.๔ การใช้ภาษาไม่สละสลาย
                ๑.๔ การเปลี่ยนแปลงของภาษาไทย
                ๑.๔.๑ คุณธรรมในการสื่อสาร มีดังนี้
                ๑. ความจริงใจ เป็นการแสดงออกถึงความจริงใจในการสื่อสารสามารถรับรู้ได้ทางสีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง และอากัปกิริยาขณะที่สื่อสาร ในการสื่อด้วยความจริงใจ ผู้ส่งสารควรแสดงความรู้สึกที่มีอยู่ในใจให้ตรงกับความรู้สึกที่แท้จริงโดยไม่เสแสร้ง
                ๒. การยอมรับ เป็นการแสดงออกในการยอมรับฟังความคิดเห็นของอีกฝ่ายหนึ่งอย่างมีเหตุมีผล ในการสื่อสารทั้งผู้รับสารและผู้ส่งสารควรมีใจเปิดกว้างน้อมรับฟังคำวิจารณ์ต่างๆ ได้ โดยไม่แสดงกิริยาที่ไม่เหมาะสม
                ๓. ความรับผิดชอบ ผู้ส่งสารที่มีความรับผิดชอบจะไม่พยายามปฏิเสธคำพูดหรือข้อเขียนของตนที่ไดสื่อสารออกไป  ดังนั้น ผู้ส่งสารควรจะคิดให้รอบคอบก่อนที่จะสื่อสารออกไป
                ๔. ความมีมนุษยสัมพันธ์ ผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์อันดีต่อกันย่อมเข้าใจกันและสื่อสารกันรู้เรื่อง  ความมีมนุษยสัมพันธ์ทำได้โดยสร้างความเข้าใจ สร้างความคุ้นเคย ความสนิทสนม กับอีฝ่ายหนึ่ง และต้องมีความจริงใจ

                ๑.๔.๒ มารยาทในการสื่อสารมีดังนี้
                ๑. ความสุภาพ  ผู้ส่งสารไม่ควรแสดงความโกรธหรือมีอารมณ์ฉุนเฉียวขณะสื่อสารไม่วางอำนาจเหนือผู้อื่น ควรใช้น้ำเสียงที่สุภาพ นุ่มนวล ชวนฟัง
                ๒. การให้เกียรติ การให้เกียรติผู้ฟังหรือคู่สนทนาในขณะสื่อสารจะช่วยสร้างบรรยากาศในการสื่อสารได้เป็นอย่างดี

                ๓. การรู้จักกาลเทศะ ในการสื่อสารผู้ส่งสารจะต้องคำนึงถึงกาลเทศะทั้งในด้านการใช้ภาษาและการแสดงออกด้านต่างๆ การรู้จักกาลเทศะจะทำให้การสื่อสารเป็นไปอย่างราบรื่นและบรรลุจุดมุ่งหมาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น